ฝาปิดตู้ปลา
โดยหลักการแล้ว ฝาตู้มีไว้เพื่อประโยชน์ใน การกันปลากระโดด เพราะปลาโดยมากมีความโน้มเอียง ที่จะกระโดดออกมาเมื่อตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาจำพวกหางดาบ ปลาแคมบูเชีย และสายรุ้ง หรือหางนกยูงซึ่งกระโดดเก่ง รวมทั้งปลากระดี่ต่างๆ เช่น นางฟ้า กระดี่มุกข์ กระดี่จูบ ซึ่งชอบพุ่งตัวขึ้นมาสะบัดน้ำ แล้วบางทีก็เลยฟาดกับกระจกฝาตู้ เลื่อนไถลออกไปนอกนอกตู้ก็ได เพราะฉะนั้นตู้ปลาจึงต้องให้มีฝาปิดไว้
ซึ่งตามปกติก็ใช้ลวดตาถี่ๆ วางทาบลงบนขอบตู ซึ่งนอกจากจะกันปลากระโดดได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยให้ น้ำมีความอบอุ่นดีขึ้นอีกด้วย เพราะได้อุณหภูมิจากภายนอก เข้าไปได้ง่ายกว่าฝากระจก แต่มีส่วนเสียอยู่บ้างคือ มักจะทำให้ขอบๆ ตู้เป็นสนิมเร็ว
มีบางคนใช้ฝากระจกที่ไม่มีขา ปิดบนปากตู้เลย ซึ่งทำให้คนที่พบเห็นสงสัยและรู้สึกทรมานกลัวว่าปลาจะหายใจไม่ออก เพราะดูเป็นการฝ่าฝืนกับทฤษฎีที่เกี่ยวกับเรื่องออกซิเจนอยู่มากๆ แต่ความจริงนั้นเราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเวลาเราไปซื้อปลามานั้น ผู้ขายก็ไม่ได้ใส่ขันใส่กระป๋องให้เราแต่เขาเอาปลาใส่ถุงพลาสติกเล็กๆ ให้เรา ซ้ำร้ายยังผูกปากถุงเสียแน่นอีกด้วยไม่มีทางที่ปลาจะได้ออกซิเจนจากภายนอกเลย แต่ทำไมปลาจึงอยู่ได้เป็นชั่วโมงๆไม่ตาย ทั้งๆที่อยู่ในถุงที่เล็กๆ เพียงนิดเดียว คำตอบในเรื่องนี้ก็คือ ปริมาณของออกซิเจนที่ต้องการสำหรับปลา ที่ในน้ำนั้นเล็กน้อยมาก และจะกินเวลานานโขทีเดียว กว่าน้ำจะดูดเอาออกซิเจน ที่อยู่เหนือระดับน้ำไปได้หมด ที่ภายในตู้ปลา
ซึ่งตามปกติก็มีที่ว่างอยู่บ้าง คือจากระดับน้ำ ถึงปากตู้ ก็ราวๆ หนึ่ง นิ้วฟุต หรือปริมาณ 2 เซนติเมตรเศษๆ เพราะถ้าใส่น้ำมากกว่านั้น ปลาก็กระโดดออกได้ง่าย ตรงที่วางระหว่างฝาตู้ กับระดับน้ำนี้ มีปริมาณออกชิเจน อยู่พอที่จะช่วยให้ปลาหายใจ ได้เป็นเวลา ตั้งหลายๆ วัน กว่าจะหมด และถึงหมดแล้วก็ถึงเวลา ที่จะต้องทำความสะอาดตู้ปลา กันก็จะมีออกซิเจน เข้าไปได้ไหมอีก
ตามความเห็นของข้าพเจ้าเองนั้นเห็นว่า การปิดตู้โดยแผ่นกระจกให้สูงกว่าปากตู้เล็กน้อย โดยอาศัยติดขาไว้ 4 ขา หรือไม่ก็ใช้ตะแกรงลวดปิดแนบปากตู้แทนจะปลอดภัยดีกว่า ไม่ใช่เพื่อจะให้น้ำได้รับออกซิเจนใหม่ๆ เข้าไปเท่านั้น แต่จุดใหญ่ๆอยู่ที่ “การระเหยตัวของแก๊ส หรือคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีอยู่ในน้ำ” นั้นอีกด้วย ซึ่งยิ่งระเหยออกไปได้เร็วเพียงใด ก็ยิ่งทำให้น้ำตอนใกล้ระดับหน้าๆ เย็นลงและมีน้ำหนักมากขึ้น ซึ่งเมื่อน้ำส่วนนี้เย็นลง ก็จะทำให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ ไม่หนาวไม่เย็นแก่น้ำในตู้ปลานั้น อันจักเป็นประโยชน์ดีขึ้น แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างกล่าวคือ ไม่ดีสำหรับปลาที่ทำรังด้วยหยดน้ำ เพราะปลาชนิดนี้เมื่อวางไข่แล้ว
ควรใช้ฝาปิดไว้จนกระทั่งมีอายุได้อย่างน้อยถึง 3 เดือนแล้วถึงจะปลอดภัย
สำหรับฝาโปร่งๆ นั้นก็ดีแน่ ไม่ต้องสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน และควรจะเป็นชนิดที่ไม่ขึ้นสนิมได้ยิ่งดี ทั้งควรทำให้กรอบไม้เบาๆ วางทับกับปากตู้ หรือจะทำเป็นกรอบแบบโคร่งๆ ลงไปวางกับปากตู้ก็ได้ และมีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งก็คือ เกี่ยวกับเรื่องปลากระโดด หรือไม่กระโดดนี้ โดยมาก มักจะเป็นเวลาที่ทำการโยกย้ายตู้ปลา เมื่อปลาได้รับความตกใจหรือ เมื่อเวลาทำความสะอาดตู้ปลา เป็นต้น แต่ตามปกติแล้ว ปลาจะไม่กระโดดถ้าตู้ปลานั้นมีต้นไม้ น้ำให้ปลาอาศัยหลบได้อย่างพอเพียง
ข่าวสารปลา เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา เลี้ยงปลาตู้ ปลาสวยงาม www.natfishtank.com