ชั้นหรือที่ตั้งของตู้ปลา
ที่จริงที่ไหนๆก็ตั้งตู้ปลาได้ถ้าไม่กระทบกระเทือนถึงปลา เช่นไม่ร้อนจัดหรือเย็นจัดจนปลาอยู่ไม่เป็นสุขแล้ว
ก็น่าจะตั้งตู้ปลาได้ทั้งนั้น แต่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้นว่า
เราเลี้ยงปลาจำพวกนี้ไว้ดูเล่นกัน ไม่ใช่เลี้ยงไว้กินเลี้ยงไว้แกง
เพราะฉะนั้นการจะตั้งตู้ปลาที่ตรงไหน จึงเป็นเรื่องที่เราจะต้องรู้ดีกว่าผู้อื่น ถ้าเป็นเพียงปลาตู้สองตู้ก็คงจะไม่สู้จะยุ่งยากอะไรนักเพียงแต่หาโต๊ะที่พอจะตั้งตู้ปลาตู้สองตู้นั้นได้มาวางที่ตรงไหนก็ได้
แต่ถ้าปลาจำนวนมากๆ ตู้ด้วยกันแล้ว การแยกตั้งที่โน่นตู้ที่นี่ตู้
ก็อาจจะทำให้เราชมปลาของเราได้ไม่สะดวก
คือต้องลุกต้องเดินไปดูตู้โน้นตู้นี้ที
สู้ตั้งรวมกันอยู่ใกล้ๆ กันน่าจะดีกว่า และสะดวกสบายกว่า
เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงใคร่แนะนำให้ท่านใช้ชั้นซึ่งทำด้วยไม้ยางชิ้นเล็กๆ
อย่างง่ายๆ ราคาก็ถูกๆ และไม่เก้งก้างเทอะทะ
ทั้งน้ำหนักก็เบายกย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวกดังนี้
1.ใช้ระแนงไม้ยาง เลือกเอาท่อนตรงๆ ที่ใสแล้ว
และมีขนาดสม่ำเสมอกัน โตไม่น้อยกว่า 2
เซนติเมตรสี่เหลี่ยม ยาวแล้วแต่จำนวนตู้ที่จะตั้ง
(แต่ก็ต้องดูขนาดยาวของไม้ตามท้องตลาดประกอบด้วย) เอามาประกอบเป็นโครง
สูงไม่เกินระดับสายตาของคนเราโดยทั่วๆ ไป คือราวๆ 65
เซนติเมตร
2. กะให้ระดับแนวของไม้ชั้นบน สูงจากฝาตู้ที่อยู่ชั้นล่างประมาณ
6 นิ้วฟุตหรือประมาณ 15 เซนติเมตร
เพื่อความสะดวกเวลาจะทำความสะอาดของตู้ปลาหรือให้อาหารปลา
3.กะให้ส่วนยาวของแต่ละช่วงที่จะวางตู้ปลายาวกว่าตู้ปลาข้างละ 1 เซนติเมตร เช่นถ้าตู้ปลาของท่านยาว 30 เซนติเมตร ก็กะให้ชั้นนั้นกว้าง 31 เซนติเมตร
ถ้าชั้นหนึ่งจะตั้งตู้ปลา 4 ตู้ ก็ต้องยาว 124 เซนติเมตร บวกด้วย 1 เซนติเมตร เท่ากับยาวทั้งสิ้น 128 เซนติเมตร
4.กะให้ส่วนลึก
(หมายถึงนะยะจากด้านหน้าเข้าไปถึงด้านหลัง) มากกว่าส่วนกว้างของตู้ปลาประมาณข้างละ
1 เซนติเมตร เช่นถ้าตู้ปลากว้าง 20 เซนติเมตร
ส่วนลึกของชั้นวัดจากผิวไม้ระแนงตัวนอนด้านหน้าไปจดผิวไม้ระแนงตัวนอนด้านหลัง
หรืออีกนัยหนึ่งวัดจากริมในของชั้นก็ราวๆ 21 เซนติเมตร
5.เมื่อกะเรียบร้อยแล้วก็เลื่อยไม้ระแนงออกตามจุดที่กำหนดไว้ เช่น
ตัวขวางขนาดยาวเท่ากับส่วนลึกของชั้น รวมเป็นจำนวนเท่ากับ “จำนวนตู้ปลาทั้งหมดที่จะตั้งบวกด้วยหนึ่งสำหรับไม้ชิ้นขนาดนี้ในชั้นหนึ่ง”
และอีกจำนวนหนึ่งสำหรับยึดตอนบนสุด เท่ากับ “จำนวนที่กะไว้สำหรับตั้งตู้ปลาในชั้นหนึ่งๆ
แต่ให้ยาวกว่าอีก 2 เท่าความกว้างของไม้ระแนงนั้น”
6. กะและเลื่อยไม้ระแนงตัวตั้งอีกชุดหนึ่ง
ให้มีขนาดยาวเท่าส่วนสูงของตู้ปลา บวกด้วยอีก 6
นิ้วหรือ 15 เซนติเมตร จำนวนเท่ากับจำนวนตู้ปลา
บวกด้วยสองสำหรับใช้ในชั้นหนึ่งๆ และอีกจำนวนหนึ่งสำหรับใช้ที่ใต้ชั้นล่างสุด
โดยมีความยาวเท่ากับส่วนสูงของระดับชั้นล่างสุดที่ต้องการ
และมีจำนวนเท่ากับที่กะไว้สำหรับตู้ชั้นหนึ่งๆ บวกด้วย 2
7. เอาไม้ที่เลื่อยแล้วในข้อ 6 มากะทาบกับไม้ระแนงท่อนยาวที่ดัดแล้ว
ซึ่งมีขนาดยาวเท่ากับจำนวนชั้นที่จะตั้งตู้ปลานั้น
โดยเริ่มตั้งแต่ชั้นล่างขึ้นมาแล้วเย็บไม้ที่วางทาบนั้นกับไม้ท่อนยาว ด้วยตะปูขนาด
1 นิ้ว ชนิดผอมเพื่อกันไม้แตกร้าว ยึดประมาณท่อนละ 3 ตัว ทำไว้เช่นนี้จำนวนเท่ากับตู้ปลาที่ในชั้นหนึ่งบวกด้วย 2 (คือโครงหน้าหนึ่งชุดและโครงหลังอีกหนึ่งชุด)
ยกเว้นชั้นบนเพราะไม่ต้องรับน้ำหนักอะไร
8. เอาไม้ที่เลื่อยไว้ในข้อ 5 มาตีทับปลายโครงไม้ที่ทำไว้ในข้อ7 โดยจัดให้ปลายทับปลาย แล้วใช้ตะปูเย็บเพียงปลายละตัวก็พอ
ถ้าใช้มากปลายไม้อาจจะแตกและเสียกำลัง
9.ทำซ้ำตามข้อ 7 และข้อ 8
จนครบทุกชั้นเสร็จแล้วจับโครงไม้ที่ประกอบแล้วนี้นอนลง
ตีตะปูยึดจากไม้ยาวชิ้นนอกเข้าไปจับชิ้นในที่ขวางอยู่ชิ้นละตัวๆ จนครบทั้ง 2 ด้าน แล้วตีไม้ยาวขวางเป็น X ที่ด้านหลังของโครงไม้นี่
เพื่อกันโย้รวน แล้วจึงจับตั้งขึ้นใหม่
เอาตู้ปลาเข้าบรรจุตามช่องตามชั้นทุกชั้นจนครบ แล้วจึงใส่น้ำเข้าตู้ปลา
แต่ในการใส่น้ำตู้ปลานี้ ควรใส่ตู้ชั้นล่างก่อน แล้วจึงค่อยๆ ใส่ตู้ที่เหนือๆ
ขึ้นไป เพื่อป้องกันมิให้ชั้นล้ม และควรใช้ลวดยึดโครงด้านในตอนบนๆ
ไว้กับฝาที่แอบชั้นปลานี้ไว้ด้วย
ชั้นที่ตั้งตู้ปลาแบบนี้ มองดูเผินๆ จะรู้สึกบอบบางมาก
ดูไม่น่าจะรับน้ำหนักอะไรได้เลย แต่ความจริงไม้ระแนงที่เป็นตัวตั้ง
ตั้งแต่ชั้นบนยาวตลอดลงไปจรดพื้นทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งดูเล็กนิดเดียวนั้นหาได้รับน้ำหนักอะไรจริงจังได้
เพราะไม้ชิ้นนี้รับน้ำหนักจริง
คือตัวที่แอบอยู่ด้านในและตีทาบไว้กับไม้ยาวด้านหน้านั้นซึ่งมองไม่ค่อยเห็นนั่นต่างหากที่ช่วยรับน้ำหนักอยู่
เลยทำให้เป็นชั้นที่แข็งแรงใช้การได้ ทั้ง ๆ ที่รู้สึกโปร่งเบา แต่ก็น่าดูดีมาก
ยิ่งถ้าได้ทาสีเสียให้รับกับตู้ปลาของท่าน เช่น สีฟ้าปนสีเทาอ่อนๆ หรือ Light
Bluish Gray เป็นต้น ก็จะยิ่งหน้าดูยิ่งขึ้น
ข่าวสารปลา เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา เลี้ยงปลาตู้ ปลาสวยงาม www.natfishtank.com