เลี้ยงปลาตู้ ชมรมปลาตู้ เราควรจะทำอย่างไรกับปลาตู้ที่ได้มาใหม่ๆ






เราควรจะทำอย่างไรกับปลาตู้ที่ได้มาใหม่ๆ
            
นักเลี้ยงปลาตู้หน้าใหม่บางคนฉงนสงสัยว่า ทำไมปลาที่ซื้อมาใหม่ๆ หรือได้รับแลกกับใครมาใหม่ๆ ถึงไม่ค่อยจะรอด คือตายง่ายๆ ผิดกับปลาที่เลี้ยงๆ ไว้ การที่เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เพราะเราได้ปลาเจ็บปลาป่วยมา และไม่ใช่เพราะปลาผิดสภาพที่เคยอยู่มาเท่านั้น เช่น เคยอยู่ในตู้ที่มีการให้ออกซิเจนแล้วกลับต้องมาอยู่ในตู้ที่ไม่มีการให้ออกซิเจน ซึ่งอาจทำให้ปลาหงอยเหงาไม่ค่อยกินอาหาร และดังนั้นจึงอาจจะตายไปง่ายๆ ไม่ใช่เข่นนี้เท่านั้น แต่ยังมีเหตุอื่นๆ อีก
            

ตามปกติ ถ้าเป็นปลาที่มาจากตู้ซึ่งถูกสุขลักษณะสำหรับปลา เช่นมีการให้อากาศดี คือตู้ก็ใหญ่โตพอน้ำก็สะอาด ต้นไม้ก็งามและอยู่ในที่ที่มีแสงแดดพอเหมาะสมควร รวมทั้งมีการให้ออกซิเจนกันด้วย นอกจากนี้ในการให้ตัวปลามา ก็ไม่ได้เสียเวลานานเช่นครึ่งค่อนวัน และทั้งปลาก็มิได้มีอาการซึ่งแสดงว่า บอบซ้ำว่าถูกกระทบกระเทือนจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายในภาชนะขณะที่นำมาด้วยแล้ว ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องเอาใจใส่กันมากนัก นอกจากหัวข้อที่ง่ายเพียง 5 ข้อดังต่อไปนี้

         
1.   ให้สังเกตดูว่า น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาที่ได้มาใหม่ๆ นั้นมีอุณหภูมิต่างกับน้ำที่ในภาชนะซึ่งปลาใส่ปลามากี่องศา ตามปกติแล้วไม่ควรเกิน 2 องศา อันเป็นความแตกต่างที่ใช้กันเป็นเกณฑ์สำหรับการโยกย้ายปลาในทุกๆ สถานการณ์ หากภาชนะที่ใส่ปลามามีขนาดเล็กมากจนสังเกตดูความแตกต่างของอุณหภูมิที่ในน้ำได้ยากแล้ว วิธีที่ดีที่สุดคือ เอาภาชนะที่ใส่ปลานั้นมาหย่อนลงไปลอยอยู่ในตู้ปลานั้นอยู่ จนกระทั่งรู้สึกได้ว่าน้ำในภาชนะนั้นกับที่ในตู้ปลานั้นน่าจะมีอุณหภูมิที่เสมอเหมือนกันแล้ว จึงค่อยปล่อยปลาลงไป ซึ่งจะไม่ทำให้ปลารู้สึกสะท้านเหมือนเมื่อน้ำทั้งสองแห่งยังมีอุณหภูมิที่ต่างกันอยู่ คือน้ำในตู้เย็นกว่าในถุงที่ใส่ปลามา หรือน้ำที่ใส่ปลามาเย็นกว่าน้ำที่ในตู้ซึ่งจะเลี้ยงปลานั้น
           
2.   นอกจากอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งควรต่างกันได้ไม่เกิน 2 °C ตามที่ได้กล่าวมาในข้อ 1 แล้ว นักเลี้ยงปลาที่ดีก็น่าจะระมัดระวังไว้ด้วยว่า กรดหรือด่างที่ในน้ำก็อาจเป็นอันตรายแก่ปลาได้ ถ้ามีปริมาณที่แตกต่างกันในระหว่างน้ำทั้งสองแห่งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับปลาที่ต้องนำมาเป็นระยะทางไกลๆ ซึ่งตามปกติย่อมจะคุ้นอยู่กับน้ำที่ภายในภาชนะนั้น อันเป็นน้ำที่ย่อมแตกต่างกับน้ำที่ในตู้ปลาอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นนักเลี้ยงปลาตู้ที่รอบคอบ จึงมักจะใช้วิธีผสมน้ำในภาชนะที่ใส่ปลามาลงไปปนกับน้ำในตู้ปลานั้นอยู่ด้วย 


นอกจากนี้คนที่มีความรู้ความเข้าใจในการส่งปลาไปเป็นระยะทางไกลๆโดยมากเขาไม่ให้อาหารแก่ปลา เพราะความที่สงสารปลาเกรงว่าปลาจะหิวโหยในระหว่างทาง เพราะการทำเช่นนั้นจะยิ่งทำให้ปลาอยู่ในสภาพที่ล่อแหลมอันตรายยิ่งขึ้นแต่เขาจะพยายามให้อาหารแก่ปลาแต่ละครั้งทีละน้อยๆ ล่วงหน้ามาเป็นเวลาสักสองสามวันก่อน 

คือหัดให้ปลาอดหรือเคยชินก่อน และอาหารโดยมากก็ใช้สัตว์เป็นตัวเล็กๆ เช่น ลูกไรหรือลูกน้ำ เป็นต้น รวมอยู่กับอาหารอื่นอีกบ้าง เมื่อทราบเช่นนี้แล้วปลาตัวที่ท่านได้มาก็ย่อมจะหิวกว่าปลาในตู้ จึงต้องระวังอย่าให้ปลากินอิ่มเกินไปอาจจุกแน่นตายได้เหมือนกัน
            
3.   ตรวจสอบปลาที่ได้มาก่อนว่า เป็นโรคอะไรบ้างหรือเปล่า เช่น โรค Ichthyophthirius หรือที่อีกชื่อหนึ่งหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งกันว่า โรค Peper and salt ทั้งนี้โดยสังเกตดูที่ครีบและแห่งอื่นๆ ตามตัวปลาดังอธิบายมาแล้วถ้าเห็นว่าปลามีอาการของโรคดังกล่าว หรือสงสัยว่าจะมีก็ควรทำการป้องกันเสียก่อนโดยใช้ Permanganate of Potash ขนาดหนัก เกรน ผสมลงในน้ำทุกๆ หนึ่งแกลลอน กับทำให้น้ำนั้นมีอุณหภูมิขึ้นสูงถึง 85 องศาด้วย แล้วปล่อยปลาไว้ในน้ำราวๆ สัก 3-4 วันก่อน
            
4.  บางคนใช้วิธีให้อากาศเข้าไปภาชนะที่ใส่ปลามาเป็นชั่วโมงๆ ก่อนที่จะปล่อยปลาลงในตู้ การทำเช่นนี้จะช่วยให้ปลามีความสดชื่นขึ้น และทำให้มีเวลาปรับอุณหภูมิให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ณ ที่ตั้งใหม่นั้นอีกด้วย
            
5.  ในกรณีที่ตู้เก่ามีปลาอยู่แล้ว ก่อนจะปล่อยปลาใหม่ลงไปก็ควรจะใช้วิธีแนะนำปลาใหม่ให้รู้จักกับปลาเก่าที่ในตู้ ภายในที่ได้ให้ปลาเก่าในตู้ได้กินอาหารเสียก่อนจนอิ่มแปล้แล้ว คือปรนปลาเก่าจนพุงกางแล้ว จึงค่อยปล่อยปลาใหม่ลงไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปลาใหม่ตัวเล็กกว่าปลาเก่า มิฉะนั้นปลาใหม่อาจจะถูกปลาเก่ากัดหรือไล่จนเหนื่อยอ่อนยิ่งขึ้นไปอีกเลยตายไปได้ในที่สุด


ลงทุนกับการเล่น พนันออนไลน์ มีทุกอย่างให้ได้เล่น   รวมทุกอย่างของการเดิมพันออนไลน์   
แทงบอล มวย แทงหวย เกมส์ คาสิโน และอีกมากมาย   ต้องการสมัครหรือสอบถาม แอดไอดีไลน์ CASATHAI     
เปิดบริการ 24 ชั่วโมง แอดมาคุยกันก่อนได้นะคะ 





Share this

Related Posts

Previous
Next Post »