สารพัดโรคที่อาจเกิดกับปลาตู้ ปลาสวยงาม มีวิธีป้องกันดังนี้



โรคต่างๆของปลาตู้
ปลาตู้ อาจเจ็บป่วยเป็นโรคอะไรต่อมิอะไรได้พอๆ กับคนเราและข้อสังเกตง่ายๆ ที่ปลาแสดงให้เห็นว่ามีอาการเจ็บป่วยอยู่ หรือไม่ค่อยสบายนัก ก็คือ
1.             สีของปลาเผือกซีด บางครั้งปลาตัวดำๆ กลับกลายเป็นสีขาวไปเลยก็มี
2.             หางและครีบมักจะลีบ ไม่ค่อยคลี่กางออกอย่างปลาที่สมบูรณ์สบายดี
3.             บางชนิดจะลอยขึ้นมาหน้าๆ น้ำถ้าเป็นน้ำลึก เช่น จำพวกแรม และกระดี่แคะ เป็นต้น แต่บางชนิดก็จะจมลงก้นๆ ตู้แม้จะพยายามว่ายขึ้นมาคล้ายๆ กับว่ายไม่ค่อยไหว เช่น ปลาสอด เป็นต้น บางชนิดก็ซุกซนอยู่ตามๆ มุมตู้คล้ายๆ กลับจะหลบหลีกจากเพื่อนๆ เช่น ปลาเสือดาว เป็นต้น
4.             ท้องอืดโตผิดปกติ หรืออาจเรียกว่าเป็นท้องมานก็ได้ ซึ่งอาการเช่นนี้บางทีก็เป็นเพราะปลากินอาหารมากเกินไปแล้วไม่ถ่ายออกมาตามสมควร
5.             เกล็ดลุกชัน โดยมากมักจะเป็นแก่ปลาท้องมาน ซึ่งเมื่อผ่าท้องออกมาดูแล้วก็มักจะไม่พบเห็นอะไร
6.             เหงือกที่หายใจถี่และกว้าง กับมีสีแดงกล่ำตามริมๆ เหงือก
7.             มีเลือดออกตามเกล็ด
8.             มีเม็ดโปนออกตามตัว
9.             ตาถลนออกมากผิดปกติ
10.      ลอยอยู่เฉยๆ แล้วบางทีก็ค่อยๆ จมลงๆ และนานๆ ก็พยายามว่ายขึ้นมา แต่แล้วก็กลับจมลงไปอีก
             ที่กล่าวมาแล้วทั้ง 10 ข้อนี้ เป็นอาการที่ข้าพเจ้าสังเกตเห็นจากปลาเจ็บ แต่เท่าที่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องปลาตู้เขาค้นพบ และบรรยายไว้ในตำราปลาอย่างนี้หลายๆ เล่ม ก็มีความพิสดารดังนี้


โรค Jehtoyophthirius
โรคปลาโดยมากก็คือ โรค Jehtoyophthirius หรือซึ่งนักเลี้ยงปลามักจะเรียกกันสั้นๆ ว่าโรค  Ick  แต่มีบางคนก็เรียกแปลกออกไปเป็นโรคพริกกับเกลือหรือ “Pepper and disease” โรคชนิดนี้จะมีอาการปรากฏให้เห็นเป็นจุดขาวๆ ตามครีบก่อน แล้วลามมาตามตัวเมื่อเป็นมากๆเข้า ในระยะแรกๆจะแลเห็นเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าไม่รีบรักษาก็จะกำเริบเป็นไปตามครีบและตามตัว จนกระทั่งแลเห็นเป็นเสมือนรามากกว่าซึ่งถ้าปลามีอาการถึงขั้นนี้แล้ว โดยมากก็ตาย

           
โดยมากโรคชนิดนี้ของปลาเกิดจากความหนาวเย็น หรือถูกเชื้อราบางชนิดที่เรียกกันว่า  Parasite   ซึ่งเมื่อเกิดแก่ตัวหนึ่งตัวใดแล้วก็มักจะทำให้ปลาทั้งตู้พลอยติดโรคไปด้วย เพราะฉะนั้น ความหนาวเย็นจึงนับเป็นอันตรายแก่ปลามาก เพราะทำให้กำลังต่อต้านของปลาลดน้อยลง ในขณะเดียวกันโรคเชื้อราก็จะยิ่งทวีมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลงนั้น ข้อสังเกตเมื่อปลามีอาการของโรคนี้ก็คือ มีจุดเล็กๆ เกิดขึ้นก่อนซึ่งจะทำให้เชื้อราเจริญวัยอยู่ต่อไปได้ตามเมือกๆที่ตัวปลานั้น และทำให้กลายเป็นหิดหรือ Itching ขึ้น อาการของหิดนี้ จะสังเกตได้ในระยะแรกๆ คือ ปลาจะพยายามขูดหรือเกาตัวเองเพราะความคัน โดยอาศัยถูไปถูมากับวัตถุที่มีอยู่ภายในตู้ปลานั้น (แต่ข้อนี้ผู้เลี้ยงปลาต้องไม่เอาไปปะปนกับอาการร่าเริงของปลา เวลาปลามีความสุขสดชื่น เช่น เวลาเอาน้ำใหม่ๆ ใส่เข้าไปเปลี่ยนน้ำเก่า บางทีปลาก็จะว่ายแฉลบตัวไปมากับพื้นตู้ เพราะอาการเช่นนี้แสดงว่าปลาสบาย ไม่ใช่ปลาเป็นโรค) และภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน เมื่อเม็ดหินนั้นโตขึ้นถึงขนาดประมาณหนึ่งมิลลิเมตรแล้ว เม็ดหินดังกล่าวก็จะหลุดร่วงออกจากปลาลงไปจมๆอยู่ก้นตู้ และจะรวมตัวเองเข้าเป็นคล้ายๆ ถุงน้ำเรียกว่า Cyst แล้วก็ขยายพันธุ์ออกไปเป็นตัวอ่อนเพิ่มขึ้นๆ ต่อๆ ไปเป็นจำนวนมาก ระหว่าง 500 ถึง 2,200 ตัว ตัวอ่อนเหล่านี้ ถึงแม้ว่าอาจจะขึ้นมาเกาะปลาตัวอื่นๆ ได้ไม่หมดทุกตัวแต่กระนั้นก็มีขึ้นมาได้ในจำนวนที่มากพอจะเกาะปลาและทำลายปลาให้เสียไปได้ทั้งหมดตู้ ทั้งอาจรวดเร็วประดุจไฟลามทุ่งก็เป็นได้
        
    
วิธีที่จะป้องกันหรือแก้ไขอาการโรคดังกล่าวของปลา อยู่ที่การสังเกตดูเสียแต่แรก ขณะที่ปลายังว่ายอยู่ได้เป็นปกติ และเมื่อสังเกตเห็นแล้วโดยมากก็ใช้ความร้อนรักษา คือความร้อนประมาณ 85 °C โดยจะอาศัยยาอื่นช่วยด้วยหรือไม่ต้องก็ได้ นักเลี้ยงปลาบางคนให้ความเห็นว่า ความร้อนไม่ใช่จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการนี้เท่านั้น หากยังเป็นยาขนานเดียวที่จะใช้บำบัดรักษาโรคอย่างนี้ได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ก็มีบางคนให้ความเห็นว่าควรจะใช้อะไรอื่นเข้าช่วยด้วยอยู่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีบำบัดรักษาโรคแบบเก่าโบร่ำโบราณที่นิยมกันอยู่อย่างกว้างขวางในวงการนักเลี้ยงปลาตู้ คือการใช้น้ำอุ่นประมาณ 85 °C  Mercurochrome  ขนาด 2 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 3 หรือ 4 หยดต่อน้ำทุกๆ หนึ่งแกลลอน การทำงานเช่นนี้ จะไม่เป็นอันตรายแก่ต้นไม้แต่ทว่าอาจทำให้เกิดผลติดตามมา กล่าวคือต้องคอยดูแลระมัดระวังปลานั้นเป็นเวลาเนิ่นนานออกไปอีก หากใช้ Methylene Blue  ขนาด 2 เปอร์เซ็นต์ ผสมโดยหยดลงไปสัก 2 หยดต่อน้ำทุกๆ หนึ่งแกลลอนแล้วจะไม่ทำให้ต้องเสียเวลาคอยดูแลกันอีกต่อไป แต่ Methylene Blue ก็เป็นอันตรายแก่ต้นไม้น้ำในตู้ปลานั้น ถ้าจะใช้ก็ต้องเอาต้นไม้ออกเสียก่อน และเมื่อปลาหายดีแล้วก็ต้องเปลี่ยนน้ำเก่าออกให้หมดอีกด้วย หากท่านไม่ใช้ยาทั้งสองจะต้องใช้ Quinine Sulphate สักครึ่งเกรน ต่อน้ำในตู้ปลาสักครึ่งแกลลอนก็ได้ แต่ไม่ต้องทำให้น้ำอุ่นถึงขนาดที่กล่าวข้างต้นด้วย วิธีผสมก็คือใช้ผง Quinine Sulphate กับน้ำสองสามหยดละลายให้เข้ากันที่ในถ้วยก่อน โดยใช้ปลายช้อนคนให้เข้ากันดี แล้วจึงค่อยๆ เติมน้ำอุ่นๆ ลงไปจนเต็มถ้วยนั้น คนต่อไปอีกสักครู่ จนแน่ใจได้ว่าละลายเข้ากันดีจริงๆ แล้ว จึงเทลงไปในตู้ปลานั้น และพยายามทำให้น้ำยาที่ผสมนี้กระจายไปให้ทั่วในน้ำในตู้ปลานั้น ผง Quinine Sulphate นี้ อาจซื้อหาเอาจากร้านขายยาได้และไม่จำเป็นต้องซื้อกันคราวละมากๆ หากเพียง 3 กรัม (หรือ 45 เกรน) ก็พอที่จะเอามาแยกออกเป็นซองๆ ไว้ใช้ได้ซองละ 3 เกรน รวมถึง 15 ซองซองหนึ่งก็จะใช้กับน้ำได้ราวๆ 5 แกลลอน ยาผงชนิดนี้แรกเริ่มเดิมทีนั้นมีผู้ใช้กันที่ประเทศเยอรมัน แต่เป็นยาที่ต้องระวังมากเพราะถ้าใช้มาก เช่น 1 เกรนต่อน้ำ 1 แกลลอนแล้วจะเป็นอันตรายแก่ต้นไม้น้ำที่ในตู้ปลานั้น
            
มีนักเลี้ยงปลาบางคน สงสัยกันว่าทำไมโรค Ick นี่ถึงไม่เป็นแก่ปลาบางชนิด ทั้งๆ ที่เลี้ยงรวมๆ กันในตู้เดียวกัน เรื่องนี้ก็มีเหตุผลกันอยู่หลายประการ เช่น เชื้อราไม่ชอบปลาชนิดนั้นและนอกจากนี้ปลาบางชนิดก็ทนความหนาวเย็นได้ดีกว่าปลาอื่น อย่างไรก็ตาม มีจ้อที่ควรระลึกจดจำไว้เกี่ยวกับโรค Ick ก็คือ ควรจะรีบเร่งทำการรักษาปลาที่เป็นโรคชนิดนี้เสีย ตั้งแรกเริ่มที่สังเกตเห็นจุดขาวๆ ตามตัวปลา และไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม ไม่ควรรีรอไว้เลยเป็นอันขาด


โรค Itch หรือหิดอีกชนิดหนึ่ง
นอกจากโรคซึ่งเกิดจากเชื้อราที่เรียกว่า Ichthyophthirius ดังกล่าวข้างต้น หรือเรียกกันสั้นๆ ว่าโรค Pepper and disease ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ก็ยังมีโรคปลาอีกชนิดหนึ่งซึ่งเรียกกันว่าโรค Itch หรือ โรคหิดอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งจะไม่แลเห็นเป็นจุดขาวๆ เหมือนโรค “Ick” สาเหตุของโรคชนิดนี้เกิดจากจุลินทรีย์หลายๆ อย่างที่ก่อเกิดอยู่ตามก้นๆ ตู้ รวมทั้งอาหารที่เหลือค้างอยู่ในตู้ด้วย แต่ใช้ Permanganate of potash เพียงสักเกรน ต่อน้ำหนึ่งแกลลอนในตู้ปลา ทิ้งไว้สัก 2 ชั่วโมงแล้ว จึงค่อยๆ ดูดอะไรๆ ที่ก้นๆ ตู้ออก พร้อมทั้งดูดน้ำที่ในตู้นั้นออกเสียด้วย ราวๆ ครึ่งตู้ แล้วเอาน้ำใหม่ที่ใสสนิทจริงๆ ใส่เติมเข้าไป Permanganate ที่ตกค้างอยู่ก็จะละลายตัวไปเองในที่สุด


โรค Dropsy หรือท้องมาน
โรค Dropsy หรือท้องมาน เป็นโรคที่ทำให้นักเลี้ยงปลามีความเข้าใจผิดไปตามๆ กันหลายต่อหลายคนเพราะคิดว่าปลามีท้อง บางคนเมื่อเข้าใจว่าปลาท้องแล้วก็แยกออกไปไว้ต่างหากซึ่งก็เป็นการดีอยู่อย่างหนึ่งเพราะทำให้ปลาได้มีโอกาสพักรักษาตัวเองได้บ้าง แต่ที่สุดโดยมากก็มักจะไม่รอด คือเพียงแต่ตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น ข้าพเจ้าเคยมีความเข้าใจผิดเช่นนี้ และเมื่อปลาของข้าพเจ้าตายก็เอาไปผ่าท้องดูเพื่อพิสูจน์ว่า ปลามีท้องตายจริงหรือไม่ ก็ปรากฏว่าไม่มีอะไรอยู่ในท้องปลาผิดปกติเลย

สัญญาณของโรคปลาชนิดนี้เท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยสังเกตเห็นก็คืออาการหอบของปลา นอกจากนี้ก็มีเกล็ดตั้งชัน เหมือนคนเราเวลาขนลุกและบางทีก็มีตาถลนออกมา ปลาที่เป็นโรคชนิดนี้มักจะปลีกตัวออกไปจากเพื่อนๆ คือชอบอยู่โดดเดี่ยว คงจะเนื่องมาจากรู้สึกไม่สบายนั่นเอง แต่โรคชนิดนี้ไม่ใช่โรคระบาด เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าวิตกเท่าใดนัก
            
นักเลี้ยงปลาบางชนิดสันนิษฐานกันว่า ที่ปลาเป็นโรคเช่นนี้ก็เพราะท้องอืด เนื่องจากอาหารไม่ย่อย ก็อาจจะเป็นไปได้เพราะคนเรา เวลาท้องอืดก็มักจะมีลมในท้องและทำให้ท้องโตผิดปกติ และอาจจะแน่ตายก็ได้ แต่เรื่องปลานี้ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่า เป็นเพราะอาหารอะไรตามความสังเกตของข้าพเจ้าเอง เข้าใจว่าอาหารป่นเป็นเหตุ ถ้าให้ปลากินมากเกินไปอาจจะแน่นตายได้ หรือเอาลูกไรให้ปลาใหญ่กินมากๆ เข้า บางทีก็อาจเป็นเช่นนี้ได้ เพราะลูกไรเป็นอาหารที่เหมาะแก่ลูกปลาเสียมากกว่า ที่เข้าใจเช่นนี้ก็เพราะข้าพเจ้าเคยเสียเซลฟินงามๆ ไปตัวหนึ่งอย่างรวดเร็ว เพียงคืนเดียวเท่านั้นหลังจากที่ให้ลูกไรเข้าไปเยอะแยะ เพราะเห็นปลาชอบแต่ความจริงจะเป็นเพราะอะไรนั้น ข้าพเจ้าเองก็ยังสงสัยปลาที่เป็นโรคชนิดนี้บางตัวก็อยู่ได้อย่างทุเรศเป็นเวลาตั้งหลายๆ วัน คือ นิ่งๆ เฉยๆ ว่ายก็ไม่ค่อยว่าย กินก็ไม่ค่อยกิน แต่มักจะขึ้นมาลอยๆ อยู่ตามหน้าๆ น้ำถึงแม้ว่าปลาชนิดนี้ก็ไม่ควรจะเอาไปปล่อยรวมกับปลาอื่นที่ในตู้หรือในบ่อที่ไม่เคยเกิดโรคใดๆ มาก่อนเพื่อความปลอดภัย เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ อาการของโรคชนิดนี้ที่ปรากฏให้เห็นเป็นสัญญาณอันตรายนั้น อยู่ในระหว่างหนึ่งถึงสามสัปดาห์เพราะฉะนั้น ถ้าได้แยกปลาเจ็บด้วยโรคอย่างนี้ออกไปใส่ขวดไว้ต่างหากในที่ที่มีแสงสว่างมากๆ แล้ว บางทีก็อาจทุเลาลงได้ และบางตัวก็เป็นได้ซึ่งข้าพเจ้าได้เคยประสพมาแล้ว แต่ถึงหายแล้วปลาตัวนั้นก็จะไม่สมบูรณ์สดสวยอย่างปลาที่เคยเจ็บด้วยโรคนี้ เพราะโดยมากมักซูบและซีด นักเลี้ยงปลาบางคนที่ใจแข็งหน่อย โดยมากจึงมักจะทำลายปลาเช่นนี้เสียเลยเพราะถือหลักว่าปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า


โรคเชื้อรา หรือ Fungu
โรคที่ปลาอาจเป็นได้อีกชนิดหนึ่งก็คือโรคที่เกิดจากราโดยตรงเรียกว่า Fungus ลักษณะ หรืออาการของโรคนี้ก็คือ เกิดเป็นเยื้อหุ้มบางๆปกคลุมที่ตัวปลาจนกลบสีที่ตัวปลาเสียเกือบหมดโดยมากมักจะเป็นหลักจากที่ปลาเคยเป็นโรค Ichthyophthirius มาแล้ว แต่บางทีก็อาจเกิดขึ้นได้เอง เนื่องจากถูกเชื้อราชนิดหนึ่งที่มีชื่อโดยเฉพาะว่า Saprolegnia ซึ่งโดยมากมักจะมีสาเหตุมาจากแผลที่เกิดจากถูกขูดคราดหรือปลาอื่นกัดหรืออุณหภูมิของน้ำในตู้ปลาเปลี่ยนแปลงไปอย่างกะทันหันหรือให้อาหารปลามากเกินไป หรืออาจเกิดจากภาวะที่ไม่เหมาะสม อย่างอื่นๆ โดยทั่วๆ ไปก็เป็นได้


เว็บพนันออนไลน์ ที่ดีที่สุด 
แอดไลน์ไอดี @CASATHAI  (มี@ด้านหน้า)




Share this

Related Posts

Previous
Next Post »