การรักษาปลาตู้ด้วยน้ำเกลือ
เกลือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และใช้เป็นยาบำบัดรักษาอาการป่วยของปลาได้อย่างหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับปลาที่แพ้น้ำใหม่ๆ
เพราะไม่มีปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดอันตรายแต่ประการใดเลยทั้งปลอดภัยเสมอเมื่อใช้ในกรณีที่สงสัย
ไม่ทราบว่าปลาจะเป็นโรคอะไรกันแน่ หรือว่ายังคลำหาสาเหตุของโรคไม่พบมีข้อเสียอยู่บ้างก็ตรงที่ว่าถ้าใช้มากเกินไปเพื่อต้องการจะหยุดอาการป่วยเจ็บของปลาโดยเร็วแล้ว
อาจไปทำให้ต้นไม้อับเฉาได้ เพราะใช้เกลือป่นละลายลงไปประมาณสัก 2 ช้อนชาปาดๆ ต่อน้ำทุกๆ
หนึ่งแกลลอนในอ่างน้ำแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งถึง 4 เท่าของอัตราที่แรกใช้คือจาก
2 ช้อนเป็น 8 ช้อนชาปาดๆ ภายในเวลา 24
ชั่วโมง ถ้าปลาไม่มีอาการดีขึ้นในวันที่สาม ก็ให้เพิ่มเหลือเป็น 6
เท่าหรือ 12 ช้อนชาปาด แต่ต้องคอยสังเกตว่าปลาไม่ได้แสดงอาการอึดอัด
เพราะปลาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน เช่น ปลาจำพวกสายรุ้งหรืออีกชนิดหนึ่งซึ่งคล้ายๆ
กัน กับปลาหางดาบหรือปลาสอดแต่มีขนาดเล็กกว่า เรียกว่า Mollies ปลาชนิดนี้อาจทนได้ถึง 8 เท่า
ในกรณีที่ต้องรักษากันด้วยส่วนผสมขนาดปานกลาง เช่น
ราวๆ สัก 4 ช้อนชาปาด
เป็นเวลานานๆ ก็ควรเปลี่ยนน้ำเกลือที่ใช้เสียใหม่
ให้มีความเค็มเท่ากันในระยะเวลาไม่เกิน 3 วัน
ถ้าได้กลิ่นเหม็นอับจากน้ำนั้นการให้อากาศหรือที่ตลาดปลาเมืองเราเรียกว่าให้ออกซิเจนแก่ปลานั้นอาจช่วยได้บ้างหลังจากที่ปลาได้รับการรักษาด้วยน้ำเกลือมาแล้ว
ส่วนการที่จะยุติการรักษาปลาด้วยน้ำเกลือก็คือ ค่อยๆ เติมน้ำจืดที่สะอาดๆ เข้าไป
จนกระทั่งความเค็มของน้ำนั้นหดลงๆ จนเกือบปกติแล้วจึงนำปลากลับเข้าตู้เดิมได้
แต่การใช้เกลือรักษาปลาเช่นนี้ ถ้าได้ใช้น้ำทะเลรักษาแล้วก็จะยิ่งให้ผลดียิ่งขึ้นและดีกว่าเกลือเสียอีกด้วย
เช่นใช้น้ำทะเลสัก 1 ส่วนกับน้ำธรรมดาสัก 5 ส่วนเป็นต้น อาจมีกำลังความเค็มดีพอๆ กับการใช้เกลือตั้ง 2-3 ช้อนชาปาดต่อน้ำหนึ่งแกลลอน