การตรวจสอบความบกพร่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับตู้ปลา เลี้ยงปลาสวยงาม




 การตรวจสอบความบกพร่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับตู้ปลา

โดยมากนักเลี้ยงปลาตู้มักจะสนใจอยู่แต่เรื่องการให้อาหารปลาและความอบอุ่นแก่ปลา แต่เรื่องอื่นๆ มักจะไม่คำนึงถึง เช่น อยู่ๆ ก็มีปลาเจ็บตาย ทั้งๆ ที่ตู้ปลาของท่านอยู่ในสภาพที่ดีอย่างถึงขนาด จนกระทั่งนักเลี้ยงปลาใหม่ๆ เกิดความท้อแท้พาลจะเลี้ยงเอาส่ง เพราะแก้ปัญหาไม่ตกไม่ทราบว่าจะเกิดจากอะไรหรือเพราะอะไร แต่ถ้านึกถึงว่าตามธรรมดาแล้ว ผลย่อมเกิดจากเหตุก่อนเสมอ คือถ้าไม่มีเหตุก็ไม่น่าจะมีผลหรือว่าเมื่อมีเหตุไรสักอย่างเป็นแน่และเหตุผลเหล่านั้นถึงแม้ว่าบางอย่างเราอาจจะเข้าไปถึงคือคลำหาจุดเริ่มต้นที่เป็นแก่นสารความจริงไม่ได้หรือไม่รู้แจ้งชัด แต่ก็มีหัวข้ออยู่หลายกระการที่พอจะสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากอะไร เช่น



1.  มีปลาตาย หรือหอยตาย อยู่ในตู้นั้นมากหรือเปล่า
2. น้ำที่ในตู้นั้นมีกลิ่นบ้างหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะเปลี่ยนออกเสียบ้างและถ้าทำให้ได้ก็ให้อากาศช่วยด้วย ในการเปลี่ยนน้ำก็อาจใช้วิธีสูบออกด้วยสายยาง หรือจะตักออกก็ได้
3.  มีแสงสว่างเข้ามาในตู้ปลาอย่างพอเพียงสำหรับต้นไม้ที่ในตู้ปลาหรือไม่ หรือว่าต้นไม้ที่อยู่ในตู้อยู่ในสภาพที่น่าดู เช่น งอกงามดีไหมหรือว่าอับเฉา ไม่สดสวยเท่าที่ควร เพราะว่าต้นไม้ที่ไม่งามนั้น อาจเป็นอันตรายแก่ปลาในตู้ได้โดยผู้เลี้ยงปลาไม่ทันรู้ตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากับใบเหลืองผิดปกติละก็ควรเอาออกได้แล้วเพราะว่าต้นไม้ที่ไม่งามนั้น แทนที่จะเป็นสื่อหรือพาหะรับเอาออกซิเจนเข้าไปกลับจะยิ่งเพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์ไปพร้อมกับระบายถ่ายเทเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่ในน้ำให้มากยิ่งขึ้น
4.  มีแผ่นนิเกลหรือแผ่นโลหะชุบโครเมี่ยมที่ในตู้ปลาตอนไหนสัมผัสอยู่กับน้ำในตู้ปลาบ้าง เพราะอาจเป็นพิษขึ้นได้ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น
5. ในตู้นั้นมีปลาอยู่หนาแน่นเพียงไร คุณควรลดจำนวนปลาออกเสียบ้างจะได้ไหม
6. น้ำในตู้ปลาเคยเป็นสีเขียวเข้มแล้วต่อมากลับกลายเป็นสีเหลืองอร่ามไปทั้งตู้บ้างไหม? เพราะนั่นแสดงว่าในตู้นั้นมีต้นไม้ที่กำลังจะตายอยู่แล้ว และควรจะเปลี่ยนน้ำนั้นได้แล้ว
7.  น้ำที่ในตู้ปลานั้นมีสภาพขุ่นข้นเป็นคล้ายๆวุ้นหรือไม่เพราะนั่นแสดงว่าสกปรกและหมดคุณภาพสำหรับปลาแล้ว ควรเปลี่ยนเสียโดยเร็ว
8. เคยมีปลาหนาวตายบ้างไหม (โดยมากในต่างประเทศ) เช่น ปล่อยให้ปลาอยู่ในน้ำซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 68 °C เป็นต้น ความจริงควรจะให้น้ำที่ในตู้ปลาอยู่ในระดับอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 80 °C จะดีกว่า และถ้ารู้สึกว่าปลาอ่อนเพลีย ก็ค่อยๆ ลดอุณหภูมิลงมาให้อยู่ระหว่าง 75 ถึง 76 องศา
9.  เครื่องกรองน้ำที่ใช้ ควรทำการชำระล้างกันบ้าง เช่น ทุกๆ อาทิตย์เคยไหม เพราะอาจสกปรกได้
10.  เคยมีควันจากถ่าน จากสี หรือจากบุหรี่มาเข้าตู้ปลาบ้างไหม?
11. น้ำในตู้ปลามีสภาพกระด้างเกินไปหรือไม่มีกรดมีด่างมากเกินไปหรือไม่และได้ปล่อยปะละเลยไว้นานๆ หรือไม่ ถ้าสงสัยในเรื่องเช่นนี้ ก็ควรจะเปลี่ยนน้ำเก่าออกเสีย แล้วเติมน้ำใหม่เข้าไปครึ่งต่อครึ่งโดยใช้น้ำที่ไม่กระด้าง เช่น น้ำประปาที่มีกลิ่นคลอรีนหรือน้ำบ่อที่ใสเอง โดยไม่มีสารส้มมาก่อนหรือจะเป็นน้ำหรือแม่น้ำที่ทิ้งไว้นานจนใสสนิทแล้วหรือถ้าเป็นในต่างประเทศจะให้น้ำหิมะที่ละลายแล้วโดยไม่เคยถูกโลหะ หรือท่อนไม้สดๆ มาก่อนเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าน้ำฝนแล้ว หากไม่เคยใช้ละก็อย่าใช้ เพราะอุณหภูมิต่างกับน้ำอื่นๆ โดยมากเย็นจัด
12.  นอกจากที่กล่าวมาแล้ว 11 ข้อข้างต้น ก็ยังมีความยุ่งยากอยู่อีกประการหนึ่งซึ่งคลำหาสาเหตุกันไม่ค่อยพบ และเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่สุดเสียอีกด้วย นั่นก็คือ การใช้กาทองแดงต้มน้ำที่ผ่านมาจากท่อทองแดงซึ่งเป็นอันตรายแก่ปลา ต้องระวังหลีกเลี่ยงเสีย แล้วพยายามหาน้ำจากแหล่งอื่นใช้



เว็บพนันออนไลน์ ที่ดีที่สุด 
แอดไลน์ไอดี @CASATHAI  (มีตัว@ด้านหน้า)












Share this

Related Posts

Previous
Next Post »